Tag Archives: ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวอย่างไร เมื่อความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง

แม้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ แต่ยังถือได้ว่าเติบโตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับศักยภาพที่มีและเทียบกับภูมิภาค ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% ของ GDP ซึ่งต่ำกว่าระดับ 10% ของ GDP ในยุคเฟื่องฟูก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียอย่างมาก โดยระดับราคาในธุรกิจนี้ยังคงอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าแนวโน้มของภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์

ปัจจัยด้านโครงสร้างมีผลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยอย่างยิ่ง สัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองนั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับระดับรายได้ ประชากรไทยเพียง 32% เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค เช่น อินโดนีเซีย (48%) มาเลเซีย (68%) และเกาหลี (81%) ยิ่งไปกว่านั้น การไม่มีชุมชนเมืองขนาดใหญ่ในพื้นที่นอกกรุงเทพฯ ทำให้กรุงเทพฯ มีสัดส่วนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้สมดุลกับพื้นทื่อื่น ๆ ในไทย โดยปัจจุบันกรุงเทพฯ มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างเกือบครึ่งหนึ่งของที่อยู่อาศัย และกว่า 75% ของพื้นที่สำนักงาน ลักษณะความต้องการที่อยู่อาศัยกำลังเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของครัวเรือนกำลังเปลี่ยนไป โดยจำนวนครัวเรือนแบบใหม่ๆ (เช่น คนที่อาศัยอยู่คนเดียว ครอบครัวคู่สมรสไม่มีบุตรและครอบครัวที่ไม่ใช่ครัวเรือนเดี่ยว) เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนของประชากร  นอกจากนี้ ความต้องการที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทก็เปลี่ยนแปลงด้วย ครัวเรือนรายได้ระดับปานกลางมีความต้องการอาศัยในทาวน์เฮ้าส์มากขึ้น ขณะที่กลุ่มรายได้ระดับสูงชอบอาศัยในบ้านเดี่ยว

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ จะมีการเปลี่ยนแปลงของความต้องการภายในตลาดที่อยู่อาศัยประเภทนั้นๆ ด้วย จากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง เราได้ระบุตลาดหลัก (segment) สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท ทั้งที่เป็นตลาดเดิมและตลาดที่เกิดขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งอธิบายลักษณะและความต้องการของตลาดดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ครอบครัวที่ไม่ใช่ครัวเรือนเดี่ยวที่อาศัยในทาวน์เฮ้าส์มีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีความต้องการห้องนอนหลายห้องมากกว่าครอบครัวคู่สมรสมีบุตร

ยิ่งไปกว่านั้น มีการประเมินว่าธุรกรรมที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ คิดเป็นเกือบ 70% ของมูลค่าธุรกรรมของทั้งประเทศในปี 2009 แสดงให้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นตลาดที่มีผู้แข่งขันมาก ทั้งๆ ที่มีพื้นที่จำกัด จากการวิเคราะห์ของเราพบว่า ความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการตอบสนองความต้องการเฉพาะของทั้งตลาดเดิมและตลาดที่เกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นผลจากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการได้

สื่อสิ่งพิมพ์และหนังสือวารสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

7

หากสำรวจสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์บ้านเรา จะพบข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่าสิ่งพิมพ์ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ใบปลิว แผ่นพับโฆษณา นิตยสาร วารสาร หรือจุลสาร ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งวารสารฉบับที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ด้วยก็เป็นสิ่งพิมพ์ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน ในเมื่อกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่วางแบบแผนปฏิบัติในสังคม สิ่งพิมพ์ย่อมอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กฎหมายวางแบบแผนปฏิบัติไว้ด้วย ดังนั้นหากผู้ใดมีความประสงค์จะจัดทำสิ่งพิมพ์สักฉบับหนึ่งจึงควรพิจารณาดูว่ามีกฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์อะไรไว้บ้างเพื่อป้องกันไม่ให้ตนต้องได้รับผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายฉบับสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิ่งพิมพ์แต่เดิมนั้น คือ พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับมานานแล้วและมีหลายบทบัญญัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์

ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 นั้น กฎหมายให้เหตุผลว่า เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราในพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและสถานการณ์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์อื่น ๆ อีกหลายฉบับรองรับไว้เพียงพอต่อการคุ้มครองประโยชน์ของรัฐและประชาชนแล้ว จึงยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์และให้มีกฎหมายว่าด้วยจดแจ้งการพิมพ์เพื่อวางหลักเกณฑ์ในการรับจดแจ้งการพิมพ์เป็นหลักฐานให้ทราบว่า ผู้ใด เป็น ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดี หากพิจารณาดูตามเหตุผลของกฎหมายแล้ว ดูเหมือนว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับแวดวงอสังหาริมทรัพย์เลย แต่ในความเป็นจริงสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์กลับมีอยู่มากมาย หลายท่านอาจจะมองว่าการจัดทำสิ่งพิมพ์เป็นหน้าที่ของโรงพิมพ์ผู้ว่าจ้างไม่ได้ดำเนินการเอง ซึ่งการมองเช่นนี้อาจเป็นการมองข้ามประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญไป เพราะเรื่องการพิมพ์นี้มีภาษากฎหมายที่ต้องให้ความสนใจ คือ คำว่า “สิ่งพิมพ์” กับ “หนังสือพิมพ์” หลายท่านอาจสงสัยขึ้นมาอีกว่าสิ่งพิมพ์ก็ไปจ้างโรงพิมพ์ทำ หนังสือพิมพ์ก็ให้นักข่าวมาเขียนข่าวหรือไม่ก็เขียนบทความไปให้หนังสือพิมพ์ลง ดูแล้วไม่เห็นจะเกี่ยวกับแวดวงอสังหาริมทรัพย์ไปได้เลย ผู้เขียนอยากให้ท่านลองพิจารณาต่อไปครับ

วารสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางหนึ่งในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ถ้าคุณมีความฝันที่จะเป็นมหาเศรษฐีแล้วละก็ อสังหาริมทรัพย์นี่แหละเป็นทางเลือกที่ดีในการทำธุรกิจเพราะโอกาสดีๆมักมาจากธุรกิจนี้ วันนี้เรานำวิธีดีๆเพื่อให้คุณได้เอาเทคนิคต่างๆไปปรับใช้เพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

1.ศึกษาข้อมูล

ศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศของคุณ วิเคราะห์ปัญหาหรือยอดของตลาดในประเทศรวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงปัจจัยทั้งหมดที่ก่อสร้างใหม่ รวมไปถึงสอบถามตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะให้คุณสถิติบางอย่างกับตลาดในประเทศได้ และมีความรู้ (Knowledge) การสร้างความรู้ให้ตัวเองเป็นการลดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างดี มันต่างกันแน่นอนระหว่างคนที่ลุยทำอะไรไปเรื่อย แต่จับต้นชนปลายไม่ถูก กับคนที่มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองจะทำเป็นอย่างดี สิ่งที่คุณควรจะต้องรู้หากต้องการเป็นนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย วิธีการหาและประเมินทรัพย์สิน วิธีการลงทุน ความรู้ทางการเงิน วิธีการปล่อยเช่า การทำธุรกรรมสัญญา การตกแต่งซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์และอื่นๆ เรื่องราวเหล่านี้อาจไม่ได้มีคอร์ส อบรมสัมมนาที่ไหน แต่คุณสามารถเรียนรู้ได้ด้วยการลงทุนเวลา เข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มคนที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อ่านหนังสือ หรือแม้กระทั่งค่อยๆ เริ่มต้นเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ดังนั้นจงใช้เวลาลงทุนกับมันให้มากพอก่อนเริ่มต้น High Understanding, High Return

2.ประเมินการ

การประเมินวัฏจักรเศรษฐกิจอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และการไหลของเงินทุนในเมืองที่คุณสนใจ เมื่อคุณซื้ออสังหาริมทรัพย์ผ่านตัวแทนอสังหาริมทรัพย์จำไว้ว่าตัวแทนทำงานบนพื้นฐานค่านายหน้า คุณสามารถค้นหาสถานที่ให้บริการโดยไม่ต้องจ่ายค่านายหน้าตัวแทนและประหยัดเงินต้นทุนของตัวเองได้

3. ค้นหาสถานที่

มองผ่านโฆษณาในหนังสือพิมพ์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แล้วลองร่างพื้นที่ที่มีการขายของที่ดินออกมา หรือสอบถามจากญาติพี่น้อง คนรู้จักเพื่อหาขอมูลถึงของเจ้าของพื้นที่ที่จะขายทรัพย์สินของพวกเขาได้

4. คิดและวิเคราะห์

วิเคราะห์สถานที่อย่างทั่วถึง เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพของบ้านที่และปัจจัยแวดล้อม เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียง (รถไฟฟ้า), ตลาด, ห้างสรรพสินค้า

5. พิจารณาสภาพของทรัพย์สิน

ลองดูว่า อสังหาริมทรัพย์ที่เราซื้อนั้น จะต้องมีการซ่อมแซมใดๆ หรือไม่ เมื่อคำนวนแล้วคุ้มค่าหรือไม่ กับเวลาและเงินค่าปรับปรุง

6.คำนวนเวลาให้เหมาะสม

ควรคำนวนเวลาที่เราซื้ออสังหาริมทรัพย์มา และนับเวลาในอนาคต คำนวนว่าเราจะได้กำไรประมาณเท่าไร

ลองนำเทคนิค 6 ข้อนี้ ไปปรับให้เข้ากับการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของคุณดู ไม่แน่อาจจะมีเศรษฐีเงินล้านอีกคน ที่เป็นคุณก็ได้ และเราต้องเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และดูช่องทางใหม่ที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จด้วย